บรรยากาศการเรียน
- การเรียนการสอนวันนี้ในช่วงแรก ยังมีอาการมึน ๆ เนื่องจากเรียนเช้าบางคนก็ดูนอนไม่พอ แต่พอเริ่มสอนไปเรื่อย ๆ ทุกคนก็ปรับตัวได้ อาจารย์ผู้สอนเริ่มทวนสิ่งที่สอนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้ตอบคำถาม เพื่อให้นักศึกษาไม่ลืมเรื่องเดิม มีช่วงพักเบรก ทำให้นักศึกษามีแรงเรียนต่อ เพราะเนื้อหาวิชานี้ค่อยข้างเยอะ และยังมีการสอนร้องเพลงที่สามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ความรู้ที่ได้รับ
- สมอง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลโดยรับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือรับรู้ จากนั้นนำไปประมวล- คุณภาพของพัฒนาการแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน (ความแตกต่างระหว่างบุคคล) ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้ วุฒิภาวะ การอบรมเบี้ยงดู สิ่งแวดล้อม
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพํฒนาการทางสติปัญญา มีดังนี้
1. เพียเจต์
การซึมซับ → ปรับความรู้เดิม → ได้ความรู้ใหม่
เพียเจต์แบ่งการเรียนรู้ของเด็กออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทสัมผัส ( Sensorimoter ) แรกเกิด - 2 ปี
2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperetioal Stage) 2 - 7 ปี
2. บลูเนอร์
1. เรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. เรียนรู้จากการคิด (Iconic Stage) สร้างมโนภาพ
3. เรียนรู้จากสัญลักษณ์ และนามธรรม (Symbelic Stage)
3. ไวก๊อตสกี้
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากการร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกัน (Peer) เป็นกระบวนการสนันสนุน และเพิ่มพูนพัฒนาการ ทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากข้างใน
- เชื่อว่าการมีปฏิสัมพันธ์จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากข้างใน
- ให้ความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่มีสถานะสูงกว่าตัวเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่ ให้เด็กลองทำเองแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยด้วย เด็กจึงจะเกิดการพัฒนาการ
- ประสบการณ์ที่เด็กได้รับมีอิทธิพลต่อตัวเด็ก
- ไวก๊อตสกี่เปรียบผู้ใหญ่เหมือน "นั่งร้าน" (Scafold) คือ ผู้คำจุนอาคารระหว่างสร้าง ที่ค่อยช่วยเหลือเด็ก เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง จึงจะทำให้เด็กสามารถทำงานนั้น ๆ สำเร็จ
- ความสำเร็จเกิดจากการบูรณาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
การนำไปประยุกต์ใช้
- ศึกษาทฤษฏีเพิ่มเติ่ม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น